ไวรัสคอมพิวเตอร์
ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้
ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ
ในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง
เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนของข้อมูลเอกสารหรือส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้
ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้
คำอื่นๆ
ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์
เช่น การติดไวรัส (infection)
แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์
(malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย
ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์
ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง
คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง
แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์
ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย
(เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข
เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง
ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด
ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด
ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน
ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม
ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม
ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์
หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก
ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ
โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส
หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว
การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกใช้ให้ทำงาน
ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวเลยว่า ขณะที่ตนเรียกใช้โปรแกรมหรือเปิดไฟล์ใดๆขึ้นมาทำงาน
ก็ได้เรียกไวรัสขึ้นมาทำงานด้วย
จุดประสงค์การทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น
อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ไวรัส (Virus) เป็นมัลแวร์ (Malware) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน
ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไปทางวิชาการมากเกินไป
หรือเพื่อความง่ายและคุ้นเคยที่จะพูด ก็จะใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง
อาจจะเป็นเพราะความเคยชินหรืออะไรก็ตาม จึงกลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ใช้คำว่า Virus แทนคำว่า
Worm, Trojan, Spyware,
Adware เป็นต้น ที่ถูกต้องควรใช้คำว่ามัลแวร์ (Malware) เพราะมัลแวร์มีหลายชนิด
แต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน
ประเภทของคอมพิวเตอร์บูตเซกเตอร์ไวรัส
บูตเซกเตอร์ไวรัส (boot sector virus) คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่เข้าสู่เป้าหมายในระหว่างเริ่มทำการบูตเครื่อง ส่วนมาก มันจะติดต่อเข้าสู่แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ระหว่างกำลังสั่งปิดเครื่อง เมื่อนำแผ่นที่ติดไวรัสนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไวรัสก็จะเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ตอนเริ่มทำงานทันที
บูตไวรัสจะติดต่อเข้าไปอยู่ส่วนหัวสุดของฮาร์ดดิสก์ ที่มาสเตอร์บูตเรคคอร์ด (master boot record) และก็จะโหลดตัวเองเข้าไปสู่หน่วยความจำก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะเริ่มทำงาน ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ไฟล์ไวรัส
ไฟล์ไวรัส (file virus) ใช้เรียกไวรัสที่มีการแทรกตามไฟล์ที่นำมาให้บันทึกสู่คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
หนอน
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทำลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้ง หมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทำลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ระดับการทำลายล้างยิ่งเพิ่มมากขึ้น
อื่นๆ
ม้าโทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan horse) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้ายที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
ชื่อไวรัส
-1260
-4K
-5lo
-A and a
-Abraxas
-Acid
-Acme
-ABC
-Actifed
-Ada
-Agena
-AGI-Plan
-Ah
-AI
-AIDS
-AIDS II
-AirCop
-Alabama
-Alcon
-Ambulance
-Anna Kournikova
-AntiCMOS
-ARCV-n
-Bomber
-Brain
-Byte Bandit
-Christmas Tree
-CIH
-Commwarrior
-Creeper
-Eliza
-Elk Cloner
-Form
-Graybird
-Hare
-ILOVEYOU
-INIT 1984
-Jerusalem
-Kama Sutra
-Koko
-Lamer Exterminator
-MacMag
-MDEF
-Melissa
-Michelangelo
-Navidad
-Natas
-nVIR
-OneHalf
-Ontario.1024
-Ontario.2048
-Ontario
-Pikachu virus
-Ping-pong
-RavMonE.exe
-SCA
-Scores
-Scott's Valley
-SevenDust
-Shankar's Virus
-Simile
-SMEG engine
-Stoned
-Sunday
-TDL-4
-Techno
-Whale
ZMist
วิธีการป้องกัน ไวรัสคอมพิวเตอร์
ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและอัปเดตข้อมูลไวรัสอยู่เสมอ
- ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะสม
- สร้างแผ่น Emergency Disk เพื่อใช้ในการกู้ระบบ
- อัปเดตข้อมูลไวรัสของโปรแกรมทุกวัน หรือ ทุกครั้งที่โปรแกรมแจ้งเตือนให้อัปเดต
- เปิดใช้งาน auto-protect ถ้าโปรแกรมสนับสนุน
- ตรวจสอบหาไวรัสทุกครั้งก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นหรือสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
- ใช้โปรแกรมเพื่อทำการตรวจหาไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์
ติดตั้งโปรแกรมอุดช่องโหว่(patch) โดยการอัปเดตซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ให้ใหม่อยู่เสมอ
- ระบบปฏิบัติการ(OS) Windows , ระบบปฏิบัติการโปรแกรม Internet Explorer (IE) และโปรแกรม Microsoft Office เป็นต้น
ปรับแต่งให้ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานปลอดภัยสูงที่สุด
- ปรับแต่งไม่ให้โปรแกรมที่ใช้อ่าน E-mail รันไฟล์แนบ(Attachment) โดยอัตโนมัติ
- ถ้าใช้ Microsoft Office ไม่ควรอนุญาตให้รันมาโคร (macro)
- ตั้งค่าระบบปฏิบัติการให้แสดงไฟล์ที่มีอยู่ทั้งหมด และแสดงนามสกุลของไฟล์ด้วยโดย ปรับ ค่าการทำงานที่ Folder Options ใน Tools ของ Windows Explorer
ระวังภัยจากการเปิดไฟล์จากสื่อบันทึกข้อมูล(Media) ต่าง ๆ
- เช่น แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี เทปแบ็กอัป เป็นต้น
- สแกนหาไวรัสจากสื่อบันทึกข้อมูล ก่อนใช้งานทุกครั้ง
- ไม่ควรเปิดไฟล์ที่มีนามสกุลแปลก ๆ ที่น่าสงสัย เช่น .pifเป็นต้น รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุลซ้อนกัน เช่น .jpg,.exe ,.gif.scr , txt.exe เป็นต้น ให้ลบไฟล์นั้นทิ้งทันที
- ไม่ใช้สื่อบันทึกข้อมูล ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
ใช้ความระมัดระวังในการเปิดอ่าน E-mail
- อย่าเปิดไฟล์ที่แนบมากับ E-mail จนกว่าจะรู้ที่มา
- อย่าเปิดอ่าน E-mail ที่มี Subject ที่เป็นข้อความจูงใจ
- ลบ E-mail ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาทิ้งทันที เพื่อตัดปัญหาทั้งปวง
ตระหนักถึงความเสี่ยงของไฟล์ที่ดาวน์โหลด หรือได้รับจากทางอินเตอร์เน็ต
- ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมากับโปรแกรมที่ใช้สนทนา เช่น ICQ , MSN เป็นต้น หรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ โดยเฉพาะไฟล์ที่สามารถรันได้ เช่น ไฟล์ที่มีนามสกุล .exe , .pif , .com , .bat , .vbs เป็นต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบแหล่งที่มาก่อน
- ไม่ควรเข้าเว็บไซต์ที่มากับ E-mail หรือโปรแกรมสนทนาต่าง ๆรวมทั้งโฆษณาชวนเชื่อ หรือหน้าเว็บที่ปรากฏขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
- ไม่ดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ จากเว็บไซต์ที่ไม่มั่นใจ หรือไม่น่าเชื่อถือ
- ติดตามข่าวสารข้อมุลการแจ้งเตือนไวรัสจากแหล่งข้อมูลด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ
หลีกเลี่ยงการแชร์ไฟล์โดยไม่จำเป็น ถ้าต้องการแชร์ไฟล์ ควรแชร์แบบอ่านอย่างเดียว และตั้งรหัสผ่านด้วย
กำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการไวรัสคอมพิวเตอร์ขององค์กร
- สำรองข้อมูลสำคัญไว้เสมอ
- ถ้าสงสัยว่าเครื่องติดไวรัสและไม่สามารถดำเนินการเองได้ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ดูแลระบบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยด่วน
- ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสที่เหมาะสม
- สร้างแผ่น Emergency Disk เพื่อใช้ในการกู้ระบบ
- อัปเดตข้อมูลไวรัสของโปรแกรมทุกวัน หรือ ทุกครั้งที่โปรแกรมแจ้งเตือนให้อัปเดต
- เปิดใช้งาน auto-protect ถ้าโปรแกรมสนับสนุน
- ตรวจสอบหาไวรัสทุกครั้งก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นหรือสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ
- ใช้โปรแกรมเพื่อทำการตรวจหาไวรัสบนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์
ติดตั้งโปรแกรมอุดช่องโหว่(patch) โดยการอัปเดตซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ให้ใหม่อยู่เสมอ
- ระบบปฏิบัติการ(OS) Windows , ระบบปฏิบัติการโปรแกรม Internet Explorer (IE) และโปรแกรม Microsoft Office เป็นต้น
ปรับแต่งให้ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานปลอดภัยสูงที่สุด
- ปรับแต่งไม่ให้โปรแกรมที่ใช้อ่าน E-mail รันไฟล์แนบ(Attachment) โดยอัตโนมัติ
- ถ้าใช้ Microsoft Office ไม่ควรอนุญาตให้รันมาโคร (macro)
- ตั้งค่าระบบปฏิบัติการให้แสดงไฟล์ที่มีอยู่ทั้งหมด และแสดงนามสกุลของไฟล์ด้วยโดย ปรับ ค่าการทำงานที่ Folder Options ใน Tools ของ Windows Explorer
ระวังภัยจากการเปิดไฟล์จากสื่อบันทึกข้อมูล(Media) ต่าง ๆ
- เช่น แผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี เทปแบ็กอัป เป็นต้น
- สแกนหาไวรัสจากสื่อบันทึกข้อมูล ก่อนใช้งานทุกครั้ง
- ไม่ควรเปิดไฟล์ที่มีนามสกุลแปลก ๆ ที่น่าสงสัย เช่น .pifเป็นต้น รวมทั้งไฟล์ที่มีนามสกุลซ้อนกัน เช่น .jpg,.exe ,.gif.scr , txt.exe เป็นต้น ให้ลบไฟล์นั้นทิ้งทันที
- ไม่ใช้สื่อบันทึกข้อมูล ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
ใช้ความระมัดระวังในการเปิดอ่าน E-mail
- อย่าเปิดไฟล์ที่แนบมากับ E-mail จนกว่าจะรู้ที่มา
- อย่าเปิดอ่าน E-mail ที่มี Subject ที่เป็นข้อความจูงใจ
- ลบ E-mail ที่ไม่ทราบแหล่งที่มาทิ้งทันที เพื่อตัดปัญหาทั้งปวง
ตระหนักถึงความเสี่ยงของไฟล์ที่ดาวน์โหลด หรือได้รับจากทางอินเตอร์เน็ต
- ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมากับโปรแกรมที่ใช้สนทนา เช่น ICQ , MSN เป็นต้น หรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ โดยเฉพาะไฟล์ที่สามารถรันได้ เช่น ไฟล์ที่มีนามสกุล .exe , .pif , .com , .bat , .vbs เป็นต้นโดยไม่ได้ตรวจสอบแหล่งที่มาก่อน
- ไม่ควรเข้าเว็บไซต์ที่มากับ E-mail หรือโปรแกรมสนทนาต่าง ๆรวมทั้งโฆษณาชวนเชื่อ หรือหน้าเว็บที่ปรากฏขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ
- ไม่ดาวน์โหลดไฟล์ต่าง ๆ จากเว็บไซต์ที่ไม่มั่นใจ หรือไม่น่าเชื่อถือ
- ติดตามข่าวสารข้อมุลการแจ้งเตือนไวรัสจากแหล่งข้อมูลด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ
หลีกเลี่ยงการแชร์ไฟล์โดยไม่จำเป็น ถ้าต้องการแชร์ไฟล์ ควรแชร์แบบอ่านอย่างเดียว และตั้งรหัสผ่านด้วย
กำหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการไวรัสคอมพิวเตอร์ขององค์กร
- สำรองข้อมูลสำคัญไว้เสมอ
- ถ้าสงสัยว่าเครื่องติดไวรัสและไม่สามารถดำเนินการเองได้ให้สอบถามเจ้าหน้าที่ดูแลระบบหรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการโดยด่วน
วิธีการตรวจสอบไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัสมีวิธีค้นหาไวรัสอยู่หลายวิธีดังนี้
ตรวจสอบ Virus signature
ไวรัสซิกเนเจอร์ คือ สัญลักษณ์ของไวรัส ซึ่งไวรัสแต่ละตัว จะมี สัญลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป เปรียบเหมือนลายเซ็นของคนทั่วไป ที่ล้วนแตกต่างกันออกไป โดยหลักการทำงาน นั้น โปรแกรมป้องกันไวรัส จะมีการตรวจสอบไฟล์ว่ามีรหัสเหมือนกับไวรัสซิกเนเจอร์หรือไม่ ซึ่งหากใช่นั้นหมายถึงว่า ไฟล์ตัวนั้นคือไวรัส
โปรแกรมป้องกันไวรัส จึงควรต้องหมั่นอัปเดตอยู่เป็นประจำ เพื่อให้การป้องกันไวรัส เป็นไปได้อย่างทั่วถึง
วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลาย ในปัจจุบัน
ตรวจสอบ คอมเปลี่ยนแปลงของข้อมูล
เป็นการตรวจหาค่าพิเศษที่เรียกว่า Checksum ของไฟล์ ซึ่งถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวไฟล์ ซึ่งอาจเกิดจากไวรัส ค่านี้ก็จะเปลี่ยนแปลง ข้อดีคือ จะตรวจจับไวรัสชนิคใหม่ๆได้ ปัญหาคือต้องแน่ใจว่าตัวเครื่องนั้น ไม่มีการติดเชื้อ
ตรวจสอบการกระทำแปลกปลอม
คอยตรวจสอบการกระทำที่แปลกปลอม จากไวรัสต่างๆ
อาทิเช่น พยายามทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขข้อมูลระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต พยายามจดตัวเองในระบบรูต พยายามดาวน์โหลด และ อัปโหลดข้อมูล และไฟล์ต่างๆ
ตรวจสอบการกระทำ
เป็นวิธีตรวจจับไวรัสโดยสร้าง Virual machine ที่จุดอ่อนด้านความปลอดภัยจำนวนมาก เมื่อมีการรันโปรแกรมขึ้นมา ตัวโปรแกรมตรวจจับไวรัสจะตรวจสอบการกระทำหากมีการกระทำที่อาจเป็นอันตรายเช่น พยายามเขียนข้อมูลลงบนบูตเซกเตอร์ก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้ หากว่าสิ่งที่ผู้ใช้กำลังทำไม่เกี่ยวกับสิ่งที่แจ้ง เช่นกำลังเล่นเกมอยู่แต่มีความพยายามเขียนข้อมูลลงบูตเซกเตอร์ ก็สามารถหยุดการทำงานนั้นลงได้
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
การใช้คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันมีผู้ใช้มีจำนวนมากขึ้นดังนั้นการควบคุมการใช้งานที่เป็นโทษสำหรับบุคคลอื่นก็ควรมีไว้ควบคุมความเรียบร้อย วันนี้เมืองไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการทำผิดทางคอมพิวเตอร์
กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
|
ในโลกของสื่อยุคเก่า ข้อเขียน บทความ จำนวนมาก ที่ถึงแม้จะผ่านกระบวนการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนจากบรรณาธิการแล้ว ก็ยังส่งผลความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศ ของบุคคลอื่น โดยที่บุคคลเหล่านั้นน้อยราย ที่จะใช้กฎหมายปกป้องตัวเอง
ในโลกของสื่อใหม่ การสื่อสารที่รวดเร็ว ฉับไว โดยก้าวข้ามขั้นตอนการกลั่นกรองของบรรณาธิการในฉับพลันทันที ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะก่อความเสียหายให้กับบุคคลอื่นมากยิ่งขึ้น
มีผู้คนจำนวนมาก ที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในเชิงวาทกรรม บิดเบือนข้อมูล แพร่ภาพหรือตัดต่อภาพอนาจาร ฉ้อโกง ฟอกเงิน ฯลฯ โดยที่ไม่สามารถจัดการป้องกันได้ ด้วยข้อจำกัดของกฎหมายว่าด้วยความผิดทางอาญา ที่มิได้ครอบคลุมถึง
อำนาจการสื่อสารในไซเบอร์สเปซที่จะใช้คอมพิวเตอร์เป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรม จึงเป็นอำนาจที่ไร้ขอบเขต ในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงจิตสำนึกในเชิงจริยธรรมที่อ่อนแออย่างยิ่ง
พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันนี้(๑๘) น่าจะเป็นความหวังของบรรดาเหยื่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ในการใช้เพื่อต่อสู้กับการถูกกระทำย่ำยี โดยโจรคอมพิวเตอร์ได้
ตัวอย่างการทำผิดกฎหมาย
1.แฮกเกอร์ (Hacker)
มาตรา ๕ "ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดิอน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา ๖ "ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา ๗ " ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
มาตรา ๘ "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ โดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ"
คำอธิบาย ในกลุ่มความผิดนี้ เป็นเรื่องของแฮกเกอร์ (Hacker) คือ การเจาะเข้าไปใน"ระบบ"คอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งระดับความร้ายแรงของโทษ ไล่ขึ้นไปจากการใช้mail ของคนอื่น เข้าไปในระบบ หรือเผยแพร่ mail ของคนอื่น การเข้าไปใน "ข้อมูล" คอมพิวเตอร์ ของบุคคลอื่น จนกระทั่งการเข้าไปจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคล โดยวิธีการทางอิเล็คทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการค้า (Corporate Eepionage)
2. ปกปิด หรือปลอมชื่อส่ง Mail
มาตรา ๑๑ "ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินไม่เกินหนึ่งแสนบาท"
คำอธิบาย เป็นการส่งข้อมูล หรือ Mail โดยปกปิดหรือปลอมแปลงชื่อ รบกวนบุคคลอื่น เช่น จดหมายลูกโซ่ ข้อมูลขยะต่างๆ
3.ตัดต่อ เผยแพร่ ภาพอนาจาร
มาตรา ๑๖ "ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไป อาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฎเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จริยธรรมในการใช้งานคอมพิวเตอร์
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกการใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านการทำงาน เล่นเกม สนทนา ติดธุรกิจ การป้องกันภัย รวมถึงเพื่อความบันเทิงด้วย ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่เสื่อมเสีย และก่อให้เกิดโทษตามมามากมาย เพระผู้ใช้เหล่านั้นยังไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวนี้หากบุคคลผู้ใช้คอมพิวเตอร์ผู้ใดยังไม่มีแล้ว จะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอีกมาก
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
|
No comments:
Post a Comment