Saturday, November 1, 2014

การนำเสนอด้วยสื่อ

การนำเสนอด้วยสื่อ

หลักการนำเสนอข้อมูลและสร้างสื่อนำเสนอ การนำเสนองานหรือผลงานนั้นสื่อนำเสนอเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมเนื้อหา ของผู้บรรยายไปยังผู้ฟังและผู้ชม ดังนั้นสื่อจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สื่อที่ดี จะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสาระทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ฟังและผู้ชมจะสามารถ จดจำเนื้อหาสาระได้นานและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีมากขึ้น ความหมายการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้ชม ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุ ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
การนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีผลในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการ ค้นพบจากการวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่าง คือ ตา และหูพร้อมกันนั้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่าส่งผลในด้านความสามารถในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตา หรือ หูอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อโสตทัศนูปกรณ์รูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยเฉพาะสื่อประสม

รูปแบบของการนำเสนองาน

 การนำเสนอข้อมูลเป็นกระบวนการในการทำงานเพื่อให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจในสิ่งที่ผู้นำเสนอข้อมูลต้องการให้ผู้รับข้อมูลรู้  
การนำเสนองานเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอข้อมูล  ซึ่งนิยมนำเสนอในรูปแบบที่สามารถหรือใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในกระบวนการทำงานนั้น ๆ
 ได้การนำเสนองานสามารถปฏิบัติได้หลายรูปแบบ เช่น  เอกสารสิ่งพิมพ์  มัลติมีเดีย  และเว็บไซต์
-       เอกสารสิ่งพิมพ์
                การนำเสนองานที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด คือ เอกสารสิ่งพิมพ์  เนื่องจากทำง่าย  สัมผัสได้และใช้เป็นหลักฐานในการนำเสนอข้อมูลได้  
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ส่งเสริมการทำงาน  ด้านเอกสารสิ่งพิมพ์ทั้งในรูปแบบของเอกสารสิ่งพิมพ์บนสื่อต่างๆ 
จนถึงเอกสารีเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์ไม่ต้องมีประสิทธิภาพสูงเท่ากับการนำเสนอด้วยมัลติมีเดียและเว็บไซต์
 โดยใช้ฮาร์ดแวร์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ส่วนซอฟต์แวร์ที่ใช้
ได้แก่โปรแกรมด้านการประมวลผลคำหรือโปรแกรมด้านการพิมพ์ ส่วนซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้แก่โปรแกรมด้านการประมวลผลคำหรือโปรมแกรมด้านการพิมพ์
                การนำเสนองานที่มีผู้เลือกใช้มากที่สุด เนื่องจากมีข้อดีดังนี้
-นำเสนอข้อมูลได้ทั้งรูปแบบตัวอักษรหรือตัวหนังสือ  รูปภาพ  ภาพนิ่ง   แผนภูมิ แผนผัง  และกราฟ
-สร้างได้ง่าย  ต้นทุนต่ำ    และใช้เวลาในการสร้างน้อย
สามารถนำเสนอได้ทุกที่  ทุกเวลา
-ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ ช่วยในการนำเสนอ
เป็นพื้นฐานของการสร้างงานนำเสนอในรูปแบบอื่น
- ประยุกต์ใช้กับการนำเสนอในรูปแบบอื่น ๆ ได้หลากหลาย  
-      มัลติมีเดีย
                       คือ การนำเสนอข้อมูลหลาย    รูปแบบพร้อม ๆกัน  เพื่อส่งเสริมการรับรู้และความเข้าใจของผู้รับข้อมูล ปัจจุบันมีการพัฒนามัลติมีเดียอย่างต่อเนื่องทำให้มัลติมีเดียมีความสวยงาม สมจริง 
โต้ตอบหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้รับข้อมูล มีขนาดไฟล์เล็กลงตอลอดจนสามารถพัฒนาให้ใช้งานบนอินเตอร์เน็ตได้  การสร้างงานนำเสนอประเภทมัลติมีเดีย
 ผู้สร้างจะต้องมีความรูเกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี  ฮาร์ดแวร์ที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพมากกว่างานนำเสนอประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮาร์ดแวร์ที่ส่งเสริมการนำเสนอภาพและเสียงของคอมพิวเตอร์ เช่น  การ์ดจอ  การ์ดเสียง  และลำโพง  ส่วนซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับสร้างมัลติมีเดียในปัจจุบันมีให้เลือกหลายประเภท  แต่ละซอฟต์แวร์มีจุดดีแตกต่างกันเช่น  IPIX    เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพ  ปัจจุบันมีการนำเสนองานในรูปแบบมัลติมีเดียอย่างหลากหลาย
                                                                                   
-       เว็บไซต์                             
     คือ การนำเสนอข้อมูลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต  ทำให้สามารถนำเสนอข้อมูลได้ครอบคลุมทั่วโลก  
การสร้างานนำเสนอเว็บไซต์ผู้สร้างงานจะต้องสร้างเว็บเพจหลาย ๆ  หน้าเพื่อนำมาเชื่อมโยงให้เป็นเว็บไซต์เดียวกัน  
โดยฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้กับคอมพิวเตอร์นอกกเหนือจากอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น  การ์ดแลน  ลำโพง  วิดดีโอแคม   โมเด็ม  
ส่วนซอฟต์แวร์นอกจากจะต้องใช้โปรแกรมประเภทเว็บเบราว์เซอร์แล้ว  ผู้สร้างจะต้องใช้ซอฟต์แวร์สำหรับสร้างเว็บไซต์ 
เช่น   Mocromefia  Dreamreaver  ด้วย  การนำเสนองานในรูปแบบเว็บไซต์  จัดเป็นการนำเสนองานที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

          


เทคนิคในการนำเสนอ

ลักษณะการนำเสนอที่ดี
                        นอกจากการเลือกรูปแบบของการนำเสนอ  ให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว  จะต้องคำนึงถึงลักษณะของการนำเสนอ  ที่จะช่วยให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอด้วย  โดยทั่วไปลักษณะของการนำเสนอที่ดี  ควรมีดังต่อไปนี้
1.  มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  กล่าวคือ  มีความต้องการที่แน่ชัดว่า  เสนอเพื่ออะไร  โดยไม่ต้องให้ผู้รับรับการนำเสนอต้องถามว่าต้องการให้พิจารณาอะไร
2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม  กล่าวคือ  มีความกระทัดรัดได้ใจความ  เรียงลำดับไม่สนใช้ภาษาเข้าใจง่าย  ใช้ตาราง  แผนภูมิ  แผนภาพ  ช่วยให้พิจารณาข้อมูลได้สะดวก
3. เนื้อหาสาระดี  กล่าวคือ  มีความน่าเชื่อถือ  เที่ยงตรง  ถูกต้อง  สมบูรณ์ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ  มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัย  และมีเนื้อหาเพียงพอแก่การพิจารณา
4. มี ข้อเสนอที่ดี  กล่าวคือ  มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล  มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ ทางเลือกที่เห็นได้ชัด  เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน

การนำเสนอโดยใช้สื่อประกอบ

ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบ คือ
1.  การนำเสนอแบบ Web page 
     เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ
2. การนำเสนอแบบ Slide Presentation 
      เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ในปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้นความคิด  หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด  มีการสรุปประเด็น หรือสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการออกแบบ ได้แก่
1) สื่อความหมายได้รวดเร็ว สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบ สื่อนำเสนอในประเด็นนี้ผู้ออกแบบจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ สถานที่ และเวลาที่ต้องการนำเสนอเพื่อประกอบการออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมายขนาดเล็ก สื่อควรมีให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่าเนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะโต้ตอบ เช่นการนำเสนอทางวิชาการ การบรรยาย หรือฝึกอบรม สื่อนำเสนอควรให้ ความสำคัญกับเนื้อหารวมทั้งยังสามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อ มาใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกิจ เช่นผู้บริหาร นักวิชาการ สื่อนำเสนอจะต้องให้ความสำคัญกับเนื้อหาและตัว ผู้นำเสนอเป็นสำคัญเนื้อหาควรมุ่งเฉพาะเป้าหมายของการนำเสนอ ไม่เน้น Effect มากนัก กลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ การนำเสนอมักใช้ความสำคัญกับผู้บรรยายมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ ดังนั้น สื่อนำเสนอไม่ควรเน้นที่ Effect แต่ควรให้ความสำคัญกับขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร และลักษณะของสีพื้นสไลด์
 2) เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็นลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย ไม่สับสนสิ่งที่ จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำเสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็นระเบียบ และดูง่าย คือ   
 2.1) รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอแบบย่อหน้า หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ เทคนิคการเน้นแนวคิดหลัก( Main Idea) ในแต่ละย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ( Main Idea)ด้วยสีแดงเป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6 – 8 บรรทัด ควรสรุปเนื้อหาให้เป็นหัวเรื่อง (Title) และหัวข้อ(Topic) หรือแนวคิดหลัก (Main Idea)
2.2) แบบอักษร การควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์ ควรให้ความสำคัญ กับขนาดตัวอักษร ดังนี้
- หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย
- เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม
- เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการเน้น
- ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา
- ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน ควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของหน้า
3) สื่อนำเสนอต้องสะดุดตาและน่าสนใจ สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุดเด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้ ซึ่งจุดเด่นนี้ได้มาจากขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือจากการใช้สีที่แตกต่างออกไป รวมถึง การเลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ที่เหมาะสมประกอบ การนำเสนอ
 3.1) การใช้ภาพ เนื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ชม ผู้ฟัง สามารถจดจำได้นานกว่าตัวอักษร ดังนั้น การแปลงเนื้อหาให้เป็นรูปภาพหรือผังภาพก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างความน่าสนใจ ให้กับสื่อที่นำเสนอการเลือกใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสมกันและกัน คือถ้าในสไลด์นั้นเลือกใช้ ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับภาพทุกภาพในสไลด์ แต่ถ้าเลือกใช้ภาพวาด ก็ควรเลือก ภาพวาดทั้งสไลด์เช่นกันดังนั้นจึงไม่ควรใช้ภาพวาดผสมกับภาพถ่าย ใส่เทคนิคที่น่าสนใจให้กับภาพเพื่อสร้างจุดเด่น การเอียงภาพ การเว้นช่องว่างรอบภาพการเปลี่ยนสีภาพให้แตกต่างจากปกติ ควรระวังการเลือกใช้ภาพเป็นพื้นหลังสไลด์ เพราะอาจจะทำให้ผู้ชมสนใจ พื้นสไลด์มากกว่าเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ หรืออาจทำให้ผู้ชมไม่สนใจมองสไลด์เลยก็ได้ เนื่องจากภาพทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น ไม่น่ามอง หรืออ่านยาก
3.2) การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร สีวัตถุ และสีพื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีขาวหรือสีอ่อน ๆ สีตัวอักษรก็ควรจะเป็นสีดำ สีน้ำเงินเข็มหรือสีแดงเลือดหมู กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีเข็ม ควรเลือกใช้สีตัวอักษรที่มองเห็นได้ชัด ในระยะไกลเช่น สีขาว สีฟ้าอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด สีเหลือกสด สีเขียวสด สีวัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของตาราง ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร และสีพื้นด้วย การเลือกใช้สีใด ๆ ก็ควรเป็นสีในชุดเดียวกันสำหรับสไลด์ทั้งหมด ไม่ควรใช้หนึ่งสี หนึ่งไลด์
3.3) การใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ไม่ควรใส่ Effect มากเกินไป เพราะจะส่งผลให้ผู้ชม ผู้ฟัง สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ หรืออาจไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect ที่มากนี้จะเป็น การรบกวนการจดจำ การอ่าน หรือการชมอย่างรุนแรง เลือกใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ ในแต่ละสไลด์ควรเลือกใช้ Effectแสดงข้อความที่เลื่อนจากขอบ ซ้ายมาขอบขวา ของจอ เนื่องจากธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านข้อความจากกรอบบนลงมา และอ่านจากด้านซ้ายไปด้านขวา

        
การออกแบบสื่อสำหรับการนำเสนอ

 หลักการสร้างสื่อนำเสนอที่ดีทีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ  ได้แก่
      1.ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง เพื่อเวลาอ่านจะไม่รบกวนสายตา
      2.มีความคงตัว: เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบสไลด์
      3.ใช้ความสมดุล: การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ให้มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้
      4.
มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น: ข้อความและสภาพที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น
      5.
สร้างความกลมกลืน: ใช้แบบอักษรและภาพกราฟิกให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย แล้ใช้สีที่ดูแล้วสบายตา
      6.
แบบอักษร: ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในสไลด์เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็นเนื้อหา
      7.
เนื้อหา และจุดนำข้อความ: ข้อความในสไลด์ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นและควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้าง     หน้า เพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น
      8.
เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง: การใช้กราฟิกอย่างเหมาะสมจะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล 


No comments:

Post a Comment