Friday, November 21, 2014

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานนิเทศศาสตร์

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานนิเทศศาสตร์



1.นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer)
ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าโปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร

2.นักเขียนเกม (Game maker)
ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย

       3.นักวิเคราะห์ระบบ (System analyst) ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน  ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย

           4.งานด้านการออกแบบกราฟิก (Graphics)
ลักษณะงานด้านนี้ เกี่ยวข้องกับการออกแบบกราฟิกที่เน้นภาพนิ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบนิตยสาร / วารสารทั้งแบบเอกสารและแบบออนไลน์ จัดวาง รูปแบบ ( Layout ) ออกแบบและจัดทำสื่อด้านศิลป์ ( Art ) ออกแบบและผลิตงานสิ่งพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา รวมทั้งผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e-Training, e-Learning ตำแหน่งงานในกลุ่มนี้ ได้แก่
- Graphics Design นักออกแบบและพัฒนาสื่อกราฟิก
- Art Director ผู้ดูแลหรือผู้อำนวยการผลิตสื่อกราฟิก / งานศิลป์
- 3D Designer นักออกแบบพัฒนาสื่อกราฟิกแบบ 3 มิติ
- Computer Graphic นักคอมพิวเตอร์กราฟิก
- Educator Media Developer นักพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษา ด้านการเรียนการสอน

      5.งานด้านภาพเคลื่อนไหว / แอนนิเมชั่น ( Animation)
ลักษณะงานด้านนี้เกี่ยวข้องกับผลิตสื่อแอนนิเมชั่น การ์ตูนแอนนิเมชั่น เกมส์คอมพิวเตอร์ รวมทั้งผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ตำแหน่งงานในกลุ่มนี้ได้แก่
- Animation Design/ Animator พัฒนาสื่อเคลื่อนไหว
- Multimedia Graphics Design นักพัฒนาและออกแบบสื่อมัลติมีเดีย
- Game Programmer/ Game Developer ด้านการสร้างและผลิตเกมส์คอมพิวเตอร์
- Flash Programmer/ Flash Developer พัฒนาโปรแกรม เกม สื่อแบบอนิเมชั่น 2 มิติ ด้วยโปรแกรม Adobe Flash
- Educator Media Developer นักพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้านการศึกษา ด้านการเรียนการสอน
- Cartoon Animation Design นักพัฒนาการ์ตูนเคลื่อนไหว

   6. 3D SLR Artist
ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและ การสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชันสามมิติให้ดูมีมิติสมจริง ได้บรรยากาศและอารมณ์ตามที่กำหนดไว้ในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้น


 7.Technical Director
ผู้กำกับเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านศิลปะและการเขียนโปรแกรม ดูแลการทำงานด้านเทคนิคของวิชวลเอฟเฟกต์โดยเฉพาะ เช่น การเขียนโปรแกรมสร้างพื้นผิวสำหรับวัตถุสามมิติ การเซ็ทอัพระบบการเคลื่อนไหวของตัวละครสามมิติ และการขียนโปรแกรมจำลองเอฟเฟกต์ เป็นต้น


8.Visual Effects Compositor
ผู้ทำหน้าที่ประกอบภาพที่ถ่ายทำจริง(Live Action)กับภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์(CGI) เช่น เอฟเฟกต์ ตัวละคร ฉาก เป็นต้น ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เฉพาะทางเพื่อสร้างสรรค์งานภาพที่สวยงามสมจริงน่าเชื่อถือสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์


9.Visual Effects Artist
ศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างภาพที่ถ่ายทำจริง(Live Action)และภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์(CGI) เพื่อสร้างภาพที่มีบรรยากาศสมจริง ส่วนใหญ่มักจะเป็นฉากที่ไม่มีอยู่จริงหรือไม่สามารถถ่ายทำได้

    

10.  Creative 
จะทำงานเกี่ยวข้องกับงานบันเทิง ด้านวิทยุโทรทัศน์โดยตรง เพราะมีหน้าที่ ทำให้รายการต่างๆ น่าสนใจ และต้องคอยดูแลรูปแบบ และลักษณะการนำเสนอรายการ ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด



Creative ส่วนใหญ่ จะสังกัดอยู่ในสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ บริษัทโฆษณา บริษัทเพลงและดนตรีต่าง ๆ รายได้ก็เริ่มตั้งแต่ หนึ่งหมื่นบาทไปจนถึง 6 หลัก ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน



อาชีพที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 นักแสดงแบบเวอร์ชวลเรียลลิตี้ 
การชมโทรทัศน์แบบเสียเงินจะกลายเป็นการจ่ายต่อครั้งที่มีการแสดง ต่อไปนักแสดงจะมีปฏิกิริยากับเราได้ในโลกของละครไซเบอร์สเปซ อาชีพนักเขียนบทก็ยังจะมีคนต้องการสูงเพราะคงจะมีบทแปลกๆ 
อีกมาก 


นักโฆษณาเพื่อคนๆเดียว 
อุตสาหกรรมโทรทัศน์จะมุ่งเน้นไปที่บุคคลมากขึ้น นักโฆษณาจะสร้างสรรค์เนื้อหาโฆษณาของสินค้าเพื่อผู้บริโภคแต่ละคนโดยเฉพาะ แต่ก็จะมีโฆษณาอื่นๆที่พยายามดึงความสนใจเราด้วยกลิ่นและ 
รส เพื่อส่งกระแสกระตุ้นให้เราอยากซื้อสินค้าในทันที 


นักวางระบบรักษาความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ 
ทำหน้าที่ป้องกันการเจาะข้อมูลของเหล่าแฮกเกอร์ตัวแสบที่มีอยู่ทั่วโลกไซเบอร์เน็ต คาดกันว่า ภายในทศวรรษหน้า อาชีพนี้จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นกว่าเดิมถึง 10 เท่า


นักพัฒนาซอฟแวร์ (Software Developer) 
มีอัตราตำแหน่งงานเกิดใหม่ในช่วง 10 ปีถึง 270,900 ตำแหน่ง
(สาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง วิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์-วิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เป็นต้น)

งานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพใน ยุคใหม่ที่เทคโนโลยีมีบทบาทกับเรื่องสุขภาพและการแพทย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้ ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆขึ้นมา อย่างเช่น ผู้ดูแลระบบงานสุขภาพ ที่ปรึกษาระบบคลินิค หรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง

นักจัดการข้อมูล
มี การวิจัยพบว่าข้อมูลต่างๆในโลกนี้ที่จะเก็บในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ จะมีการเติบโตขึ้นสองเท่าทุกๆ 3 ปี ทำให้เกิดอาชีพอย่างนักจัดการข้อมูล ที่จะต้องดูแลฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้ให้สามารถใช้งานได้ดี และเรียกใช้ได้เมื่อต้องการ


วิศวกรข้ามระบบ
เนื่องจากยุคนี้ เทคโนโลยีก้าวไปไกล หลายๆบริษัทต่างๆก็มีระบบขอตนเอง เช่นระบบ Windows บนคอมพิวเตอร์ ระบบ iOS หรือ Android บนโทรศัพท์มือถือ ทำให้เป็นหน้าที่ของวิศวกรข้ามระบบที่จะทำให้โปรแกรมต่างๆนั้นสามารถทำงาน กับทุกเครื่องได้อย่างไรซึ่งปัญหานั่นเอง


นักอัพเดทข่าวสารออนไลน์
นัก เขียนหลายๆคน รวมถึงนักหนังสือพิมพ์ที่ออกจากงาน เริ่มหันมาก่อตั้งเว็บไซต์ หรือบล็อคบนโลกออนไลน์เพื่ออัพเดทข่าวสารต่างๆ ให้เว็บไซต์มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จัก


 สื่ออุปกรณ์พกพา
อุปกรณ์ พกพาอย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็ปเลตกำลังมาแรง ทำให้มีการเติบโตของงานสายออกแบบ วิดีโอ กราฟิค ประชาสัมพันธ์ รวมถึงวิศวกรรมซอฟแวร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านความปลอดภัย
งาน สายเทคนิคเฉพาะทาง โดยเฉพาะในส่วนของการดูแลความปลอดภัยกำลังเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความต้องการคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงความคาดหวังจากสังคมที่ต้องการให้บริษัทต่างๆเน้นด้านความปลอดภัยและ ความมั่นใจนั่นเอง






No comments:

Post a Comment